"The ultimate aim of education is the development of character"

โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เข้าร่วมพิธีมอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ  Internationally Outstanding Inventors Awards Ceremony   วันพุธที่ 15 มิถุนายน 2565   เวลา 13.00 น.    ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ ชั้น 3 สโมสรทหารบก วิภาวดี

 

วันที่ 15 มิถุนายน 2565 ดร.เกรียง ฐิติจำเริญพร ผู้จัดการ-ผู้อำนวยการ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย พร้อมด้วยครูและนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สสวท. วิทยาศาสตร์สุขภาพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เข้าร่วมพิธีมอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ (Internationally Outstanding Inventors Awards Ceremony) จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ชั้น 3 สโมสรทหารบก วิภาวดี กรุงเทพฯ

ภายในงานมีนิทรรศการผลงานของนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมจากเวทีนานาชาติ และมีการปาฐกถาพิเศษ “นโยบายและทิศทางในการผลักดันสิ่งประดิษฐ์ ผลงานวิจัย และนวัตกรรมสู่เวทีนานาชาติ” และการกล่าวแสดงความยินดีและมอบรางวัลแก่นักประดิษฐ์ และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ โดย ศาสตราจารย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลในระดับนานาชาติของโรงเรียนปรินส์รอยแลส์วิทยาลัย มีรายละเอียดดังนี้

1. รางวัล Silver Medal ผลงานเรื่อง “Comparison of water absorption and grease trapping performance of pectin from okra, banana peel and orange peel extracted from different solvents with commercial pectin and konjac powder”

ใน เวที “The 9th Macao International Innovation and Invention Expo 2021” ณ เขตบริหารพิเศษมาเก๊าของสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ถึง วันที่ 2 มกราคม 2565 โดยนักวิจัยเจ้าของผลงาน ได้แก่

1. นาย ชยพล ว่องชาญอุดม    2. นางสาวสุพิชญา ชอบธรรม       3. นางสาวชนิตา คุตตะเทพ

ครูที่ปรึกษา ดร.ขัติยา ปิยะรังษี

2. รางวัล Bronze Prize ผลงานเรื่อง ” Fluidization paddy transport machine ”

เวที “Seoul International Invention Fair 2021” ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 1 – 4 ธันวาคม 2564 โดยนักวิจัยเจ้าของผลงาน ได้แก่

1. นายจิรัฐพล ใจคำสืบ          2. นางสาววชิรญาณ์ รัตน์จันทร์ตา        3. นางสาวณภัทร จันทร์ทอง

ครูที่ปรึกษา ดร.ขัติยา ปิยะรังษี