"The ultimate aim of education is the development of character"

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

อาคารบัทเลอร์ และ แฮรีส

(Butler and Harris House)

สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2491 สมัย ดร.เคนเนท อี แวลส์ เป็นอาจารย์ใหญ่ อาคารทั้ง 2 หลังนี้สร้างพร้อมกัน หลังจากรื้ออาคารบัทเลอร์ (อาคารเรียนหลังแรก) อาคารทั้งสองหลังมีลักษณะเหมือนกันคือ เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น พื้นและเพดานปูด้วยไม้ ชื่ออาคารทั้งสอง ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ตระกูลบัทเลอร์ และตระกูลแฮรีส ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียนระดับประถมและมัธยมตามลำดับ และที่ทำการแผนกมัธยมศึกษาตอนต้น

อาคารสีเทา

(Grey Building)

สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในสมัย อ.หมวก ไชยลังการณ์ เป็นอาจารย์ใหญ๋ เพื่อใช้รองรับการขยายจำนวนนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นลักษณะอาคารเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น ยาวติดต่อกัน มีห้องเรียนชั้นบน 9 ห้องและห้องประชุมใหญ่ 1 ห้อง ชั้นล่างมีห้องเรียนและห้องพักครู รวม 11 ห้อง สถาปนิกผู้ออกแบบคือ ศ. อัน นิมมานเหมินท์

อาคารสีฟ้า

(Blue Building)

สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2506 ในสมัย อ.หมวก ไชยลังการณ์ เป็นอาจารย์ใหญ่ เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนสำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น ชั้นล่างมีห้องเรียนจำนวน 6 ห้อง ชั้นบนมีห้องเรียนจำนวน 9 ห้อง สถาปนิกผู้ออกแบบคือ ศ. อัน นิมมานเหมินท์

อาคารร่มเกล้า

(Rom Klaow Building)

สร้างขึ้นในสมัย ดร. จำรูญ ไชยลังการณ์ โดยมี นายมณทิพย์ ปรีชานนท์ เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ โดยได้รับบริจาคจากนายและนางโยเซฟ แอลโยเดอร์ เป็นผู้รณรงค์ขอบริจาคจากคริสเตียนในเมืองแคนตัน มลรัฐโอไฮโอ ได้ประมาณ 700,000 บาท ทำพิธเปิด เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2522 โดย มล. จิรายุ นพวงศ์ องคมนตรี ผู้แทนพระองค์เป็นประธาน ปัจจุบันอาคารร่มเกล้าใช้เป็น ห้องเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีห้องทดลองวิทยาศาสตร์ จำนวน 3 ห้อง ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ 3 ห้อง ห้องโสตทัศนูปกรณ์ และห้องบรรยายหรือห้องประชุมที่มีความจุ 350 คน และเนื่องจากอาคารมีอายุการใช้งานที่ยาวนานทำให้พบการรั่วซึมของหลังคาอาคาร ในปี พ.ศ. 2561 และได้ดำเนินการทำหลังคาคลุมอาคารเพื่อแก้ไขปัญหาหลังคาดังกล่าว พร้อมทั้งทาสีอาคารภายนอกใหม่ ดำเนินงานโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.เอส.คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง

หอสมุดมาลามาศ

(Malamas Library)

หอสมุดมาลามาศ ตั้งชื่อตามนามปากกาของ อาจารย์หมวก ไชยลังการณ์ เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2535 แล้วเสร็จในเวลา 9 เดือน ได้ทำพิธีเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2536 หอสมุดมาลามาศมีลักษณะเป็นอาคาร 3 ชั้น ขนาดภายในกว้าง 8 เมตร ยาว 21 เมตร ประกอบด้วยห้องอ่านหนังสือ ห้องโสตทัศนูปกรณ์ ห้องประชุมเล็ก ในปีการศึกษา 2541 หอสมุดมาลามาศได้รับการคัดเลือกจากสำนักคณะกรรมการการศึกษาเอกชนให้เป็นห้องสมุดดีเด่นระดับมัธยมศึกษาขนาดใหย่พิเศษของเขตการศึกษา 8 ประจำปี 2541 กระทรวงศึกษาธิการ สถาปนิกผู้ออกแบบคือ บรัท เซ็ท จำกัด โดยคุณอนุพร อินทะพันธุ์ ในปีการศึกษา 2560 โรงเรียนฯ ได้ดำเนินการโครงการปรับปรุงหอสมุดมาลามาศ โดยคุณธนิต ชุมแสง นายกสมาคมนักเรียนเก่าฯ เป็นผู้ออกแบบให้กับโรงเรียนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ปรับเปลี่ยนบรรยากาศให้เอื้อต่อการแสวงหาความรู้และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย กิจกรรมที่หลากหลาย ดำเนินงานโดย หจก. ณัฐพนธ์ เฮาส์ (2002) ปัจจุบันเป็นห้องสมุดของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

อาคารโรงอาหาร 95 ปี

(95th Anniversary Building)

อาคารโรงอาหาร 95 ปี PRC มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น ใช้เป็นโรงอาหารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ชั้น 2 จัดเป็นห้องโถงอเนกประสงค์ สำหรับกิจกรรมต่างๆ สถาปนิกผู้ออกแบบคือ บริษัท เซ็ท จำกัด โดย คุณอนุพร อินทะพันธุ์ ในปี พ.ศ. 2561 ได้ปรับปรุงเป็นห้องซ้อมดนตรี แต่ผนังเดิมไม่เหมาะสม ไม่ได้มาตรฐานในการเรียนการสอนดนตรีเท่าที่ควร จึงได้ดำเนินการปรับปรุงเสริมผนังและแผ่นซับเสียงให้มีความเป็นมาตรฐานในการทำห้องซ้อมและเรียนดนตรี ดำเนินงานโดย หจก. ณัฐพนธ์ เฮาส์ (2002)

อาคาร 100 ปี สถาบันแฮรีส

(Harris Institute)

เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 6,000 ตารางเมตร มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่นในงาน สถาปนิกล้านนา 52 เป็นอาคารศูนย์การเรียนรู้ที่ประกอบไปด้วยห้องประชุมเอนกประสงค์ขนาดใหญ่ ซึ่งภายในห้องสามารถใช้เป็นโรงฉายภาพยนตร์ 3 มิติ ห้องประชุมเล็ก 1 ห้อง และศูนย์การเรียนรู้ 9 ศูนย์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิด ปัจจุบันใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้และห้องเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

อาคารจำรูญ ไชยลังการณ์

(Jamroon Chailangkarn building)

เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 4 ชั้น ก่อสร้างพร้อมกับอาคารกำราบ ใต้ถุนอาคารเป็นลานโล่ง ประกอบด้วย 8 ห้องเรียน ห้องพักครู 3 ห้อง ห้องคอมพิวเตอร์ 2 ห้อง ชั้นล่างสุดเป็นลานโล่งสำหรับการจัดกิจกรรมต่างๆ สถาปนิกผู้ออกแบบคือ คุณดิษฐิเดช ราชแพทยาคม ปัจจุบันใช้เป็นห้องเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

สนามหญ้าเทียม

(Artificial Turf Soccer Field)

สร้างขึ้นเพื่อใช้ทำกิจกรรมด้านกีฬา และกิจกรรมนันทนาการอื่นๆ เนื่องจากพื้นที่สนามเดิมเป็นดินโคลนปนทราย ทำให้ไม่สามารถใช้พื้นที่ได้เต็มประสิทธิภาพ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ดำเนินงานก่อสร้างโดยบริษัท Greeny Grass System ปัจจุบันใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมด้านกีฬา และกิจกรรมนันทนาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น