"The ultimate aim of education is the development of character"

โครงสร้างการบริหารงานประกันคุณภาพ

หน้าที่คณะกรรมการประกันคุณภาพภายใน

1

กรรมการส่วนกลาง

2

หัวหน้างานวิชาการและประกันคุณภาพปฐมวัย – ม.6

3

หัวหน้ามาตรฐานระดับโรงเรียน

4

กรรมการในระดับการศึกษา

5

กรรมการเขียนรายงานการประเมินตนเอง (SAR)

กรรมการส่วนกลาง

  1. ศึกษารายละเอียดมาตรฐานการศึกษาตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมินของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  2. จัดทำเอกสารคู่มือ แบบฟอร์มการตรวจภาคสนาม รายงานการประเมินภายใน

  3. จัดทำรายงานการประเมินตนเอง

  4. ประสานงานและอำนวยความสะดวกให้การประเมินภายในและงานที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพของโรงเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

หัวหน้างานวิชาการและประกันคุณภาพ ปฐมวัย – ม.6

  1. ศึกษารายละเอียดในมาตรฐานและตัวบ่งชี้ วางแผน จัดเตรียมเอกสาร หลักฐาน สภาพจริงฯลฯ เพื่อแสดงถึงการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมายในแต่ละมาตรฐาน

  2. ประสานงานร่วมกับหัวหน้าระดับการศึกษาและทีมงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในระดับการศึกษานั้นให้บรรลุถึงมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ สร้างจิตสำนึกให้ทำงานเป็นทีมเป็นระบบ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

  3. รวบรวมข้อมูลสารสนเทศให้ครอบคลุม จัดทำระบบสารสนเทศ เพื่อนำผลไปพัฒนาและประเมินคุณภาพภายในแผนก

  4. นิเทศติดตาม ตรวจประเมินตามเกณฑ์ และสรุปผล เสนอต่อกรรมการบริหารภายใน และทีมบริหารแผนก

  5. รวบรวมข้อมูลการประเมิน เสนอต่อกรรมการเขียน SAR

หัวหน้ามาตรฐานระดับโรงเรียน

  1. ศึกษาเจาะลึกรายละเอียดมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมินที่ได้รับมอบหมาย และประสานงานกับกรรมการมาตรฐานในระดับชั้นเพื่อกำหนดเอกสาร หลักฐาน ร่องรอยและแหล่งข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินภายในและการประเมินภายนอก

  2. ประสานงานกับคณะกรรมการรายมาตรฐานในช่วงชั้นให้มีการดำเนินงานและการจัดสารสนเทศเป็นไปตามระบบของโรงเรียน

  3. ตรวจประเมินภายในและให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้บริหารและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

  4. ติดตามความก้าวหน้าและปรับปรุงพัฒนางานโดยประสานกับกรรมการในระดับการศึกษาตามมาตรฐานที่รับผิดชอบ

  5. รายงานผลการตรวจประเมินภายในตามมาตรฐานที่รับผิดชอบต่อกรรมการเขียน SAR

กรรมการในระดับการศึกษา

  1. ศึกษารายละเอียดในมาตรฐานและตัวบ่งชี้ เพื่อจัดเตรียมหลักฐาน/เอกสาร สภาพจริง

  2. รวบรวมข้อมูลหลักฐาน เพื่อเตรียมและนำเสนอในการตรวจประเมินภายใน

  3. สรุปและนำเสนอข้อมูลมาตรฐาน/ตัวบ่งชี้ที่รับผิดชอบ ให้หัวหน้ามาตรฐานระดับโรงเรียน เพื่อเขียนรายงานการประเมินตนเอง

กรรมการเขียนรายงานการประเมินตนเอง (SAR)

  1. ศึกษามาตรฐาน ตัวบ่งชี้ ที่รับผิดชอบอย่างละเอียดและเข้าใจชัดเจน

  2. ศึกษา วิเคราะห์ผลการตรวจประเมินคุณภาพภายในทั้ง 2 ภาคเรียนตามมาตรฐานที่รับผิดชอบ

  3. นำผลการตรวจประเมินเขียน SAR เสนอผู้เกี่ยวข้องและเผยแพร่ต่อสาธารณชน