อ.กรกช ไชยวงค์ หัวหน้าศูนย์สืบสานภูมิปัญญา
ศูนย์สืบสานภูมิปัญญา โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ Local Wisdom Center The Prince Royal’s College
ศูนย์สืบสานภูมิปัญญา โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มุ่งเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของนักเรียนโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีความรัก ความหวงแหนในภูมิปัญญา รากเหง้าของล้านนา ผ่านการศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาในภาคเหนือในมิติต่าง ๆ ผ่านการเยี่ยมชมนิทรรศการ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สืบสานภูมิปัญญา เพื่อการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา สืบสานอย่างยั่งยืนตามประเด็น ดังนี้
กลุ่มที่ ๑ คติ ความคิด ความเชื่อ และหลักการฐานขององค์แห่งความรู้ คือ การประกอบพิธีกรรมพื้นฐานแห่งองค์แห่งความรู้ต่าง ๆ โดยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยการพึ่งพาธรรมชาติ ความคิด ความเชื่อเหล่านี้จะนำมาสู่การพัฒนาชีวิตและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มที่ 2 ศิลปะ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม ประเพณี คือ ตัวชี้ลักษณะที่สำคัญของการแสดงออกถึงภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นซึ่งเป็นการแสดงถึง ความเจริญงอกงามและความเป็นระเบียบของท้องถิ่น เป็นวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ได้ ถ่ายทอดสืบต่อกันมาเฉพาะกลุ่ม ได้แก่ ประเพณีต่างๆ กลุ่มที่ 3 การประกอบอาชีพในแต่ละท้องถิ่น คือ การประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา หุบเขา มีพื้นที่ราบจำนวนน้อย คือ ประมาณ 1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ชาวบ้านทำนาแบบนาทดน้ำ พื้นที่สูงปลูกข้าวไร่ พื้นที่ที่ราบใน แอ่งเขาอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าวและพืชอื่นๆ กลุ่มที่ 4 การผสมผสานวิถีเดิมกับเทคโนโลยีมัยใหม่ คือ การนำความรู้และหลักการที่เคยปฏิบัติกันมา นำมาผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มผลผลิตและปรับเปลี่ยนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม
เชิญชวนนักเรียน ผู้ที่สนใจเยี่ยมชม และร่วมกิจกรรมสืบสานภูมิปัญญา
ณ ห้องศูนย์สืบสานภูมิปัญญาโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย อาคาร100ปี ชั้น 3
นักสืบสานภูมิปัญญาPrc คว้า 2 รางวัลระดับประเทศ พร้อมทุนการศึกษาและถ้วยเกียรติยศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 และรางวัลPopular vote ระดับประเทศ ในการประกวดเยาวชนสร้างสรรค์สื่อสื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรม เมื่อวันที่16มีนาคม2566 ผลงานชื่อ “ย่านอยู่เย็น สายธารชีวิต เศรษฐกิจที่รุ่งเรือง” โดยแกนนำนักสืบสานภูมิปัญญาPRCได้ลงพื้นที่ทางวัฒนธรรมย่านตำบลวัดเกต ศึกษาเรียนรู้ ถ่ายทำสร้างเรื่องราวเรื่องสั้นสะท้อนวิถีชีวิต คติชนวิทยา ความเชื่อของศาสนาทั้ง 5 ศาสนาอยู่ร่วมกันในชุมชน (พุทธ คริสต์ อิสลาม คริสต์ ฮินดู) บนถนนสายวัฒนธรรมตำบลวัตเกต โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ร้านฝ้ายซอคำพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณที่มีทั้งการสาธิตการทอผ้า เลี้ยงไหม การจัดแสดงผ้าล้านนาโบราณ และถัดจากบริเวณเดียวกันมีร้านข้าวเกรียบปากหม้อโบราณที่เป็นเจ้าเก่าดั้งเดิมของย่านนี้ พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเกตรวมถึงสถาปัตยกรรมอาคารบ้านเรือนบริเวณสองฟากฝั่งถนนที่มีความโดดเด่นรักษาไว้ซึ่งความเป็นสถาปัตยกรรมล้านนาโคโลเนียล นำเสนอเรื่องราวย่านวัดเกตผ่านความทรงจำของคนในล้านนาที่ทรงคุณค่าและรักษาให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และภาคภูมิใจสืบไป โดยในกิจกรรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รองประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พร้อมด้วย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ แถลงข่าวผลการประกวดสื่อสร้างสรรค์สําหรับเด็กและเยาวชนในหัวข้อ “เยาวชนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรม” ภายใต้โครงการ สร้างสรรค์ไทย ปี 2 (Creative Thai) เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน ได้รับการส่งเสริมการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่บอกเล่าเรื่องราวทางวัฒนธรรมที่สร้างความสนใจ ความรู้ และต่อยอดวัฒนธรรมท้องถิ่นไปสู่ระดับชาติและระดับนานาชาติต่อไป โดยมีทีมนักสืบสานภูมิปัญญาPRC ดังนี้ 1.ด.ช.ณัฐชนน ศิริเอก 2.น.ส.ปลายฉัตร จตุรงค์เสรีกุล 3.ด.ช.ธีรชัย แก้วเดช 4.นายกันฑ์พล ผู้อยู่สุข 5.ด.ช. ปวริศ จันทะสาร 6.ด.ช. เก้าคุณ เลิศรัตประภากร 7.นายชิติพัทธ์ ชัยคำ 8.ด.ช.ฉันทัช เชื้อสะอาด นายกรกช ไชยวงค์ ครูที่ปรึกษาผู้ควบคุมดูแล
นักสืบสานภูมิปัญญา นายกรกมล อมรทัตพงษ์ เข้าประกวดทูตสงกรานต์แห่งประเทศไทยประจำปี2566 ได้รับรางวัลทูตสงกรานต์ภาคเหนือ รางวัลขวัญใจกรรมการ รางวัลBest costume มอบรางวัลโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ
ทูตสงกรานต์แห่งประเทศไทย2566
สำหรับการดำเนินกิจกรรมในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ศูนย์สืบสานภูมิปัญญามุ่งจัดกิจกรรม เรียนรู้วิถีใหม่ ร่วมรักษ์และภาคภูมิใจในภูมิปัญญา คุณครูกรกช ไชยวงค์ หัวหน้าศูนย์สืบสานภูมิปัญญา กล่าวว่า กิจกรรมที่ทางศูนย์สืบสานภูมิปัญญาได้เปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสร้างสรรค์พลังของคนรุ่นใหม่ให้ใส่ใจในภาษาคำเมืองล้านนา ผ่านกิจกรรม เรียนรู้ภาษาคำเมืองดำเนินการกิจกรรมสื่อสารสืบสานภูมิปัญญา ภาษากำเมืองถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้ กิจกรรมส่งเสริมความภาคภูมิใจในภาษาคำเมืองล้านนา ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์สื่อสารการใช้ภาษาคำเมืองประกอบรูปภาพที่ทันสมัยโดยแกนนำนักสืบสานภูมิปัญญาPRC ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการถ่ายวีดีโอสั้นในการพูดภาษาคำเมืองโพสต์ ลงบนสื่อออนไลน์ ติดแฮชแท็กศูนย์สืบสานภูมิปัญญาPRC เพื่อส่งเสริมกระตุ้นจิตสำนึกในการร่วมใช้ภาษาคำเมืองให้คงอยู่คู่แผ่นดินล้านนาและประเทศไทยสืบต่อไปอย่างน่าภาคภูมิใจ และยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกหลากหลายกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในภาคเรียนที่1นี้ ทั้งกิจกรรมทำขนมล้านนาคงคุณค่าภูมิปัญญาไทย กิจกรรมตัดตุงล้านนา กิจกรรมทำของเล่นเห็นภูมิปัญญา
เชิญชวนนักเรียน ผู้ที่สนใจเยี่ยมชมนิทรรศการ และร่วมกิจกรรมสืบสานภูมิปัญญา ณ ห้องศูนย์สืบสานภูมิปัญญาโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย อาคาร100ปี ชั้น 3 ภายในศูนย์ฯได้จัดนิทรรศการเรื่องราวของภูมิปัญญาล้านนาในมิติต่าง ๆ ไว้อย่างน่าสนใจ
“การอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาจึงไม่ใช่ภารกิจของผู้ใดผู้หนึ่งแต่เป็นรากเหง้าของเราทุกคนบนผืนแผ่นดินล้านนาที่จะร่วมกันรักษาสืบทอดให้คงอยู่สืบไป”